TH/Prabhupada 1064 - พระเจ้าทรงประทับอยู่ภายในหัวใจของทุกๆชีวิต

Revision as of 03:11, 5 August 2015 by Visnu Murti (talk | contribs) (Created page with "<!-- BEGIN CATEGORY LIST --> Category:1080 Thai Pages with Videos Category:Prabhupada 1064 - in all Languages Category:TH-Quotes - 1966 Category:TH-Quotes - Lect...")
(diff) ← Older revision | Latest revision (diff) | Newer revision → (diff)


Invalid source, must be from amazon or causelessmery.com

660219-20 - Lecture BG Introduction - New York

จิตสำนึกสูงสุด ได้อธิบายไว้แล้วใน ภัควัต-คีตา ในบทที่ แยกข้อแตกต่างระหว่าง จีวะ และ อีชวะระ ได้อธิบายไว้ คเชทระ-คเชทระ-กยะ นี้ เคชทระ-กยะ ได้อธิบายไว้ว่า เคชทระ-กยะ นั่นคือ พระเจ้า คือ เคชทระ-กยะ ด้วยเหมือนกัน หรือ จิตสำนึก และ จีวะ หรือ สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย พวกเขาก็มีจิตสำนึกเหมือนกัน แต่ข้อแตกต่างก็คือ สิ่งมีชีวิตหนึ่ง มีจิตสำนึกเฉพาะในร่างกายที่จำกัดของเขาเอง แต่พระเจ้าทรงมีจิตสำนึกในทุก ๆ ร่างกาย อีชวะระ สารวะ-บฮูทานาม ฮริด-เดเช อารจุนะ ทิสทะทิ (ภัควัต-คีตา 18.61) พระเจ้าทรงประทับอยู่ภายในหัวใจของทุก ๆ ชีวิต ดังนั้นพระองค์ทรงมีจิตสำนึกการเคลื่อนไหวทางจิตวิทยา, กิจกรรมต่างๆ, ของทุก จีวะ ซึ่งพวกเราไม่ควรลืมสิ่งนี้ ได้อธิบายไว้ด้วยว่า พะระมาทมะ หรือ บุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้าทรงประทับในหัวใจของทุก ๆ ชีวิต เป็น อีชวะระ เป็นผู้ควบคุม และ พระองค์ทรงให้แนวทาง พระองค์ทรงให้แนวทาง สารวัสยะ ชาฮัม ฮริดิ สันนิวิสทฮา (ภัควัต-คีตา 15.15) พระองค์ทรงประทับอยู่ในหัวใจของทุกชีวิต และ พระองค์ทรงให้แนวทางเพื่อให้สิ่งมีชีวิตปฎิบัติตามที่เขาปรารถนา สิ่งมีชีวิตลืมไปว่าจะทำอะไร ครั้งแรกเขาตั้งใจจะทำบางสิ่งบางอย่าง และจากนั้นเขาก็ถูกพันธนาการอยู่ในกรรมและผลของกรรมของเขาเอง แต่หลังจากละทิ้งร่างกายหนึ่งไปแล้ว เมื่อเขาจะเข้าไปสู่อีกร่างหนึ่ง เหมือนกับการที่เราถอดเสื้อผ้าแบบหนึ่งทิ้งไป และ เปลี่ยนเสื้อผ้าอีกแบบหนึ่ง ในทำนองเดียวกัน มันได้อธิบายไว้ใน ภัควัต-คีตา นี้ว่า วาสามสิ จีรนานิ ยะทา วิฮายะ (ภัควัต-คีตา 2.22) อย่างเช่น คนหนึ่งเปลี่ยนชุดที่แตกต่างกัน ในทำนองเดียวกัน สิ่งมีชีวิตทั้งหลายพวกเขาก็มีการเปลี่ยนร่างกายที่แตกต่างกันด้วย การย้ายวิญญาณของดวงวิญญาณ และ การพยายามดึงการกระทำทั้งหลาย และ ผลของการกระทำทั้งหลายของกิจกรรมในอดีตของเขา ดังนั้นกิจกรรมเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อสิ่งมีชีวิตอยู่ในโหมดของความดี ในสุขภาพจิตที่ดี และเขามีความเข้าใจว่ากิจกรรมแบบไหนที่เขาควรจะนำมาใช้ และถ้าเขาทำเช่นนั้นแล้วการกระทำทั้งหมด และ ผลของการกระทำของกิจกรรมต่างๆ ของเขาในอดีตสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เพราะฉะนั้น กรรมจึงไม่ถาวร สิ่งอื่นๆ ที่นอกเหนือจากสี่, ห้าประการ อีชวะระ, จีวะ, พระคริทิ, คะละ และ คารมะ ทั้งสี่ประการนี้เป็นนิรันดร์ ในขณะที่ คารมะ ประการเดียวที่ ไม่นิรันดร์ ตอนนี้จิตสำนึก อีชวะระ, จิตสำนึกสูงสุด อีชวะระ และความแตกต่างระหว่างจิตสำนึกสูงสุด อีชวะระ หรือ พระเจ้า และ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายคือใน สภาพปัจจุบัน เป็นเช่นนี้ จิตสำนึก, จิตสำนึกของทั้งสองของพระเจ้า และ สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย พวกเขาทั้งหลาย จิตสำนึกนี้ คือ เลิศล้ำเหนือธรรมชาติ มันไม่ใช่ว่าจิตสำนึกนี้ถูกสร้างขึ้นมา โดยมาสังคมกับวัตถุ นั่นเป็นความคิดที่เข้าใจผิด ทฤษฎีที่ว่าจิตสำนึกได้พัฒนาขึ้นมาภายใต้สถานการณ์ของการผสมผสานทางวัตถุ คือไม่เป็นที่ยอมรับใน ภัควัต-คีตา พวกเขาไม่สามารถ จิตสำนึกอาจจะทำให้บิดเบือน สะท้อนมาจากการถูกครอบงำของสถานการณ์ทางวัตถุ เช่นเดียวกับ แสงที่ถูกสะท้อนผ่านกระจกสีดูเหมือนว่าจะเปลี่ยนไปตามสี ในทำนองเดียวกัน จิตสำนึกของพระเจ้า ม้นไม่ถูกกระทบกระเทือนทางวัตถุ พระเจ้าสูงสุดเช่นเดียวกับคริชณะ พระองค์ทรงตรัสว่า นั่น มะยาดยัคเชนะ พระคริทิ (ภัควัต-คีตา9.10) เมื่อพระองค์ทรงเสด็จลงมาในโลกวัตถุนี้ จิตสำนึกของพระองค์ไม่ถูกกระทบกระเทือนทางวัตถุ ถ้าจิตสำนึกของพระองค์ถูกกระทบกระเทือนทางวัตถุ พระองค์ไม่เหมาะที่จะมาเป็นผู้ตรัสเกี่ยวกับเนื้อหาอันเลิศล้ำเหนือธรรมชาติใน ภัควัต-คีตา ผู้หนึ่งไม่สามารถพูดอะไรเกี่ยวกับโลกอันเลิศล้ำเหนือธรรมชาติ เมื่อยังไม่เป็นอิสระจากจิตสำนึกที่มีมลทินทางวัตถุ ดังนั้นพระเจ้าทรงไม่มีมลทินทางวัตถุ แต่จิตสำนึกของพวกเราในปัจจุบันมีมลทินทางวัตถุ ดังนั้นเช่นที่ ภัควัต-คีตาสอนทั้งหมด พวกเราต้องชำระล้างมลทินจิตสำนึกทางวัตถุ และในจิตสำนึกที่บริสุทธิ์การกระทำของเราก็ประสบผลสำเร็จ นั่นจะทำให้เรามีความสุข พวกเราหยุดไม่ได้ พวกเราไม่สามารถหยุดกิจกรรมของเรา แต่เราต้องทำให้กิจกรรมของเราบริสุทธิ์ขึ้น และกิจกรรมที่ทำให้บริสุทธิ์นี้เรียกว่า บัคธิ บัคธิ หมายความว่า พวกเขาปรากฎคล้ายกับกิจกรรมธรรมดาสามัญ แต่กิจกรรมทั้งหลายของพวกเขาไร้มลทิน พวกเขาทำให้กิจกรรมทั้งหลายบริสุทธ์ ดังนั้นผู้ที่อยู่ในอวิชชาอาจเห็นพระสาวกกำลังทำงานเหมือนคนธรรมดา แต่คนที่ด้อยความรู้ประเภทนี้ เขาไม่ทราบว่ากิจกรรมทั้งหลายของพระสาวกคนหนึ่ง หรือกิจกรรมทั้งหลายของพระเจ้า พวกเขาไม่มีมลทินจากจิตสำนึกที่ไม่บริสุทธิ์ หรือ วัตถุจิตสำนึก มลทินของสาม กุนะ, คุณทั้งสามของธรรมชาติวัตถุ แต่มันคือ จิตสำนึกที่เลิศล้ำเหนือธรรมชาติ ดังนั้นจิตสำนึกของพวกเราคือ มีมลทินทางวัตถุ , พวกเราควรรู้ไว้