TH/Prabhupada 1065 - ก่อนอื่นผู้หนึ่งต้องเรียนรู้ว่าเขาไม่ใช่ร่างกายวัตถุนี้

Revision as of 03:15, 5 August 2015 by Visnu Murti (talk | contribs) (Created page with "<!-- BEGIN CATEGORY LIST --> Category:1080 Thai Pages with Videos Category:Prabhupada 1065 - in all Languages Category:TH-Quotes - 1966 Category:TH-Quotes - Lect...")
(diff) ← Older revision | Latest revision (diff) | Newer revision → (diff)


Invalid source, must be from amazon or causelessmery.com

660219-20 - Lecture BG Introduction - New York

ตอนนี้ขณะที่พวกเรายังมีมลทินทางวัตถุเช่นนี้ เรียกว่า เราอยู่ภายใต้สภาวะวัตถุ และ การสำคัญตนเองแบบผิด ๆ , จิตสำนึกที่ผิด จิตสำนึกที่ผิดจะแสดงออกภายใต้ความรู้สึกว่า "ข้าเป็นผลผลิตของธรรมชาติวัตถุนี้" นั้นเรียกว่าการสำคัญตนแบบผิด หรือ อหังการ กิจกรรมทั้งหลายทั้งหมด ยัสยาทมะ บุดดิฮ คูนะเพ ทรี-ดาทุเค (ชรีมัทบัควะทัม10.84.13) ยัสยาทมะ-บุดดิฮ คูนะเพ ทรี-ดาทุเค คนหนึ่ง ผู้ที่ซึมซาบอยู่กับแนวความคิดเห็นทางร่างกาย ตอนนี้ ภัควัต-คีตาทั้งหมดได้ถูกอธิบายไว้โดยพระเจ้า เพราะ อารจุนะเป็นตัวแทนเอง ด้วยแนวความคิดทางร่างกาย ดังนั้นผู้หนึ่งต้องเป็นอิสระจากแนวความคิดทางร่างกายของชีวิต นั่นคือกิจกรรมเบื้องต้นของนักทิพย์นิยมผู้หนึ่งที่ต้องการได้รับอิสรภาพหลุดพ้น สิ่งแรกสุดที่เขาต้องเรียนรู้ว่า เขานั้นไม่ใช่ร่างกายวัตถุนี้ ดังนั้นจิตสำนึกนี้ หรือ วัตถุจิตสำนึก... เมื่อพวกเราเป็นอิสระจากจิตสำนึกวัตถุนี้ นั่นเรียกว่า มุคทิ มุคทิ หรือ ความหลุดพ้น หมายถึง ความมีอิสระภาพจากจิตสำนึกทางวัตถุ ใน ชรีมัด-บัควะทัม ด้วยได้กล่าวถึงคำจำกัดความของความหลุดพ้นว่า: มุคทิร ฮิทวานยะทา-รูพัม สวะรูเพณะ วยะวัสทิทิฮ (ชรีมัทบัควะทัม2.10.6) สวะรูเพณะ วยะวัสทิทิฮ มุคทิ หมายถึง การเป็นอิสระจากจิตสำนึกที่มีมลทิน แห่งโลกวัตถุนี้ และ กลายมาสถิตในจิตสำนึกที่บริสุทธิ์ และ คำสั่งสอนใน ภัควัต-คีตา ทั้งหมดมีจุดมุ่งหมายเพื่อฟื้นฟูจิตสำนึกที่บริสุทธิ์ พวกเราจะพบว่าคำสั่งสอนขั้นสุดท้ายของ ภัควัต-คีตา นั่น คริชณะ ทรงถามอารจุนะว่า บัดนี้เธอมีจิตสำนึกที่บริสุทธิ์หรือยัง ว่าเขามีจิตสำนึกที่บริสุทธิ์หรือยัง จิตสำนึกที่บริสุทธิ์ คือ การปฎิบัติตามแนวทางคำสั่งสอนของพระเจ้า นั่นคือจิตสำนึกที่บรุสุทธิ์ นั่นคือ ข้อสรุป และ เนื้อหาสาระสำคัญทั้งหมดของจิตสำนึกที่บริสุทธิ์ จิตสำนึกมีอยู่ตรงนั้นอยู่แล้ว แต่เพราะพวกเราเป็นละอองอณุของพระเจ้า ดังนั้นพวกเราจึงมีผลกระทบ นั่นคือมีความสัมพันธ์ที่อาจมีผลกระทบโดยคุณลักษณะทางวัตถุ แต่พระเจ้าทรงไม่ถูกกระทบเลย พระองค์ไม่เคยถูกกระทบ นั่นคือข้อแตกต่างระหว่างบุคลิกภาพสูงสุดแห่งพระเจ้า และ .. ตอนนี้จิตสำนึกคือ... จิตสำนึกคืออะไร? จิตสำนึกนี้คือ "ข้าพเจ้าเป็น" ข้าพเจ้าเป็นอะไร? เมื่อจิตสำนึกมีมลทินนี้ "ข้าพเจ้าเป็น" นั่นหมายถึง "ข้าพเจ้าเป็นพระเจ้าของทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้มาทั้งหมด" นี่คือจิตสำนึกที่มีมลทิน และ "ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความสุขเกษมสำราญ" โลกทั้งโลกหมุนไป เนื่องจากทุกชีวิตคิดว่า นั่น "ข้าพเจ้าเป็นพระเจ้าและ ข้าพเจ้าเป็นผู้สร้างโลกวัตถุ" มีจิตวิทยาสองรูปแบบในจิตสำนึกทางวัตถุ หนึ่งนั่นคือ "ข้าพเจ้าเป็นผู้สร้าง" และ อีกแบบคือ "ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความสุขเกษมสำราญ" แต่อันที่จริงพระเจ้าสูงสุดเป็นผู้สร้าง และพระองค์เป็นผู้มีความสุขเกษมสำราญ และสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย เป็นเพียงละอองอณูของพระเจ้าสูงสุด เขาไม่ใช่เป็นผู้สร้างที่แท้จริง หรือ ผู้มีความสุขเกษมสำราญ แต่เขาเป็น ผู้ร่วมมือ เช่นเดียวกับเครื่องยนต์ทั้งหมด , ส่วนของเครื่องยนต์จะร่วมมือ, เป็นผู้ร่วมมือ หรือถ้าเราสามารถเรียนได้แค่ส่วนประกอบของร่างกายเรา ตอนนี้ในร่างกาย มีมือ มีขา มีตา และ เครื่องมือทั้งหมดเหล่านี้ทำงาน แต่ทั้งหมดเป็นส่วนต่างๆ ของร่างกายนี้ พวกเขาไม่ใช่ผู้มีความสุขเกษมสำราญ ท้องคือผู้มีความสุขเกษมสำราญ ขา คือ ใช้เคลื่อนจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง มือ คือ เป็นผู้เก็บเกี่ยว, มือ คือ มีการเตรียมอาหาร และ ฟัน ใช้เคี้ยวอาหาร และ ทุกอย่างทั้งหมดคือส่วนต่างๆ ของร่างกาย คือ มีส่วนร่วมใน การทำให้ท้องพึงพอใจ เพราะท้องเป็นอวัยวะหลักที่จะให้พลังงานแก่ร่างกายทั้งหมด และ ทุกสิ่งทุกอย่างจึงควรถูกส่งมาที่ท้อง พราโนพะฮาราช ชะ ยะเทนดริยานาม (ชรีมัทบัควะทัม4.31.14) เช่นเดียวกับที่คุณสามารถเห็น ต้นไม้ต้นหนึ่ง สีเขียวได้โดย รดน้ำไปในราก หรือคุณจะกลายมามีสุขภาพดี... ส่วนต่างๆ ของร่างกาย - มือ, ขา, ตา, หู, นิ้วมือ - ทุกอย่างช่วยให้ระดับสุขภาพดี เมื่อส่วนต่างๆ ของร่างกายให้ความร่วมมือกับท้อง ในทำนองเดียวกัน สิ่งมีชีวิตสูงสุด , พระเจ้า , พระองค์เป็นผู้มีความสุขเกษมสำราญ พระองคเป็นผู้มีความสุขเกษมสำราญ และ ทรงเป็นผู้สร้าง และพวกเรา อาตมาหมายถึง สิ่งมีชีวิตผู้เป็นรอง เป็นผลผลิตของพลังงานของพระเจ้าสูงสุด พวกเราแค่ร่วมมือกับพระองค์ ความร่วมมือนั้นจะช่วย เพียงแค่ยกตัวอย่างเช่น อาหารดี ดี รับประทานโดยนิ้วมือ หากว่านิ้วมือคิดว่านั่น "ทำไมพวกเราต้องส่งอาหารไปให้ที่ท้อง"? ให้พวกเราสุขเกษมสำราญ "นั่นคือความผิดพลาด นิ้วมือไม่สามารถมีความสุขเกษมสำราญได้ หากว่านิ้วมือต้องการผลของความสุขเกษมสำราญของอาหารโดยเฉพาะนั้น นิ้วมือต้องใส่มันลงไปในท้อง